บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017
รูปภาพ
ปงดูว์การ์  ( ฝรั่งเศส :  Pont du Gard ) เป็น สะพานส่งน้ำ โรมันโบราณสร้างโดย จักรวรรดิโรมัน  สร้างพาดผ่านแม่น้ำการ์ดง ใกล้กับเมืองเรอมูแล็ง (Remoulins) เมืองเล็ก ๆ ใน จังหวัด การ์   แคว้นล็องก์ด็อก-รูซียง  ทางตอนใต้ของ ประเทศฝรั่งเศส  สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบส่งน้ำของเมือง นีม  มีความยาวกว่า 50 กิโลเมตร สร้างโดยชาวโรมันเพื่อส่งน้ำจากจากเมือง อูว์แซ็ส  โดยระหว่างสองเมืองเป็นหุบเขา ระบบส่งน้ำที่ส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน ย้ายมาสร้างอยู่บนสะพานเพื่อข้ามแม่น้ำการ์ดง นักประวัติศาสตร์คาดการณ์ว่าสะพานถูกสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยสะพานแห่งนี้จัดเป็นสะพานส่งน้ำที่สร้างในสมัย จักรวรรดิโรมัน ที่ยังคงสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง รองจาก สะพานส่งน้ำแห่งเซโกเบีย สะพานประกอบด้วยฐานโค้งจำนวนสามชั้น สูง 48.80 เมตร โดยระหว่างความยาวทั้งหมด ความสูงของที่ส่งน้ำต่างระดับกันประมาณเพียง 17 เมตรเท่านั้น ในขณะที่ตัวสะพานมีความสูงทั้งสองฝั่งนั้นต่างกันเพียง 2.5 เซนติเมตร ซึ่งจัดว่าเป็นความสำเร็จทางเทคโนโลยีการก่อสร้าง และความชาญฉลาดทางวิศวกรรมของชาว โรมัน ในอดีต ในอดีตทางส่งน้ำสามารถส่งน้ำได้ประมาณ 200,00
รูปภาพ
มง-แซ็ง-มีแชล  ( ฝรั่งเศส :  Le Mont-Saint-Michel ) คือวิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยวกลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณ จังหวัดม็องช์   แคว้นบัส-นอร์ม็องดี ของ ประเทศฝรั่งเศส  ได้รับประกาศจาก องค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ภายใต้ชื่อ  มง-แซ็ง-มีแชลและอ่าว [1] ในปีหนึ่งจะมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมง-แซ็ง-มีแชลกว่า 3 ล้าน 2 แสนคน [2]  ซึ่งทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศสรองลงมาจาก หอไอเฟล และ พระราชวังแวร์ซาย ตัวเกาะอันเป็นที่ตั้งของวิหารนั้นเป็น หินแกรนิต  โดยมีเส้นรอบวงเกาะประมาณ 960 เมตร และสูง 92 เมตร แล้วถ้าบวกกับความสูงของตัววิหารนั้นแล้วก็จะมีความสูงถึง 155 แมตร ถือเป็นปราการธรรมชาติตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยตั้งชื่อตามวิหารที่ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขานั่นเอง บนยอดวิหารเป็นรูปปั้นทองของ อัครทูตสวรรค์มีคาเอล  (นักบุญมิคาเอล) สร้างโดยเอมานูแอล เฟรมีเย (Emmanuel Frémiet) ในปัจจุบัน มีประชากรอยู่อาศัยบนเกาะ 44 คน จากสถิติ ณ ปีค.ศ.2009 ก่อนที่จะมีการสถาปนาราชวงศ์แรกของฝรั่งเศสขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกาะนี้เคยถูกเรียกว่า
รูปภาพ
มาการง  ( ฝรั่งเศส :  macaron ,  ออกเสียง:  [makaˈʁɔ̃] ) [1]  เป็นขนมหวานที่ได้จากการผสม เมอแร็งก์ กับ ไข่ขาว ,  น้ำตาลไอซิ่ง ,  น้ำตาลทรายขาว ,  ผงแอลมอนด์ หรือ แอลมอนด์ป่น  และ สีผสมอาหาร  มาการงรูปร่างเหมือนแซนด์วิช เป็นขนมปังสองชิ้นประกบกัน มีสอดไส้ตรงกลาง ส่วนไส้มักจะเป็น กานัช ,  บัตเตอร์ครีม  (ครีมเนยที่ใช้แต่งหน้าเค้ก) หรือ แยม  คำว่า มาการง แผลงมาจากคำใน ภาษาอิตาลี ว่า  macarone ,  maccarone หรือ  maccherone ,  เมอแร็งก์ แบบอิตาลี มาการง มีลักษณะคล้ายคุกกี้ ลักษณะเด่นของมาการงคือ ผิวด้านบนของขนมจะเรียบ ขอบรอบ ๆ เป็นรอยหยัก (มักจะเรียกว่า "ขา" หรือ "เท้า") และมีฐานเรียบแบน ขนมจะนุ่มชุ่มเล็กน้อยและละลายง่ายในปาก [2]  มาการงมีหลากหลายรสชาติ ตั้งแต่รสดั้งเดิม ( ราสป์เบอร์รี ,  ช็อกโกแลต ) ไปจนถึงรสใหม่ ๆ ( ฟัวกรา ,  ชาเขียว ) [3] คนส่วนใหญ่มักจะสับสนระหว่างมาการงกับ แมคารูน  (macaroon) จึงมีการใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศสมาแทนภาษาอังกฤษเพื่อให้ดูต่างกัน แต่ก็ยิ่งทำให้สะกดชื่อกันผิดมากขึ้น บางตำราอาหารแยกชื่อ  แมคารูน  ไว้ใช้กับมาการงที่ไม่ใช่แบบของฝรั่งเ
รูปภาพ
พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์  ( ฝรั่งเศส :  Musée du Louvre ) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็น พิพิธภัณฑ์ ทางศิลปะตั้งอยู่ใน กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส  พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี  พ.ศ. 2336  (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัย ราชวงศ์กาเปเซียง  ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียน โมนาลิซา , The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของ เลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่งแอนทีออก ในปี  พ.ศ. 2549  พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก [ ต้องการอ้างอิง ]  และยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส พีระมิดแก้วของพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ออกแบบโดย  ไอ. เอ็ม. เป   สถาปนิก ชาวจีน-อ
รูปภาพ
หอไอเฟล  ( ฝรั่งเศส :  Tour Eiffel ,  ตูร์แอแฟล ) เป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บน ช็องเดอมาร์  บริเวณ แม่น้ำแซน  ในกรุง ปารีส  เป็นสัญลักษณ์ของ ประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งชื่อตาม กุสตาฟ ไอเฟล  สถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอคอยนี้ หอไอเฟลถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้าโลก ในปี ค.ศ. 1889 (Exposition universelle de Paris de 1889) เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และความสวยทางศิลปะสถาปัตยกรรม หอคอยสูงงดงามแห่งนี้เป็นดาวเด่นที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งต่อมาได้รู้จักในนามหอไอเฟลและกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีส และในปี  พ.ศ. 2549  นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) หรือสูงเท
รูปภาพ
โมนาลิซา  ( อังกฤษ :  Mona Lisa ) หรือ  ลาโจกอนดา  ( อิตาลี :  La Gioconda ) หรือ  ลาโชกงด์  ( ฝรั่งเศส :  La Joconde ) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี  ใน คริสต์ศตวรรษที่ 16  ระหว่าง  พ.ศ. 2046  (ค.ศ. 1503) ถึงปี  พ.ศ. 2050  (ค.ศ. 1507) เป็นภาพที่มีชื่อเสียงทั่วโลกภาพหนึ่ง เป็นที่รู้จักในฐานะภาพของสุภาพสตรีที่มีรอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ลูฟร์  (Musée du Louvre) กรุง ปารีส   ประเทศฝรั่งเศส ภาพโมนาลิซานี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2046  ถึง  พ.ศ. 2050  ใช้เวลานานถึง 4 ปีในการวาด ในปี ค.ศ. 1516 ( พ.ศ. 2059 ) ดา วินชีได้นำภาพจาก อิตาลี ไปที่ ฝรั่งเศส  ด้วยพระราชประสงค์ของ พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1  ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับ ปราสาท ในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซา ในราคา 4,000 เอก
รูปภาพ
ชีส - ความภาคภูมิใจของฝรั่งเศสพวกเขาเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกที่พวกเขามีรสชาติและกลิ่นหอมที่ถูกที่สุด ในฝรั่งเศสคำว่า "ชีส" เสียงเหมือน "le fromage" (หรือในต้นฉบับ - le fromage)เป็นที่เชื่อกันว่ามันมาจากการบิดเบือน "formazh" นั่นคือ "การสร้าง" หรือ "สร้าง"และนี่เป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีสำหรับรูปแบบของมวลนมเปรี้ยวซึ่งเป็นที่เกิดขึ้นจากการแข็งตัวของนมในรูปแบบเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการผลิตชีสนี้ วันนี้ฝรั่งเศสผลิตมากกว่า 500 ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมและแต่ละคนจะไม่ซ้ำกันในชนิดชีสฝรั่งเศสอาจจะอ่อนหรือแข็งหนุ่มสาวหรือเก๋าเคลือบแข็งหรือเปลือกแม่พิมพ์แพะนมหรือวัว อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญจะไม่ประหลาดใจโดยความหลากหลายของสายพันธุ์เฉพาะผลิตภัณฑ์นี้ แต่ยังจำนวนเงินที่เหลือเชื่อรูปแบบของมันตัวอย่างเช่นชีสฝรั่งเศส, ภาพถ่ายที่ถูกนำเสนอในบทความนี้มีอยู่ในรูปร่างของวงการแผ่นสี่เหลี่ยมกลองสี่เหลี่ยมยืนและนอนถัง, บาร์, กรวย, สามเหลี่ยมและหัวใจ ทำไมผลิตภัณฑ์นี้ไม่ได้ผลิตในรูปแบบเดียวหรือไม่?ความจริงที่ว่าชีสฝรั่งเศสทุกคนมีปร
รูปภาพ
หอเอลิซาเบธ  ( อังกฤษ :  Elizabeth Tower ) (ก่อนหน้านี้เรียกว่า  หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์  ( อังกฤษ :  Clock Tower, Palace of Westminster )) หรือรู้จักดีในชื่อ  บิกเบน  ( อังกฤษ :  Big Ben ) เป็น หอนาฬิกา ประจำ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์  ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่  16 ตุลาคม   พ.ศ. 2377  โดย ชาลส์ แบร์รี  เป็นผู้ออกแบบ [1] [2]  หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic) ชื่อหอเอลิซาเบธตั้งขึ้นเพื่อฉลองพระราชพิธีพัชราภิเษก หรือพระราชพิธีมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง หลายคนเข้าใจว่าบิ๊กเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิ๊กเบนเป็นชื่อเล่นของ ระฆัง ใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิ๊กเบนจ
รูปภาพ
ปาเอยา  ( สเปน :  paella ) หรือ  ปาเอ็ลยาดาร์ร็อส  ( คาตาลัน :  paella d'arròs ) เป็นชื่อเรียกอาหารประจำชาติอย่างหนึ่งของ ประเทศสเปน  มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือข้าวซึ่งนำไปหุง (มิใช่ผัด) กับเนื้อสัตว์และเครื่องเทศด้วยน้ำสต็อกในกระทะแบนใหญ่ ต้นกำเนิดของปาเอยานั้นมาจาก แคว้นบาเลนเซีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวอันดับต้น ๆ ของประเทศสเปน อาหารจานนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความเรียบง่ายทางขนบธรรมเนียมและประวัติศาสตร์ของแคว้นบาเลนเซียได้เป็นอย่างดี ความมีชื่อเสียงและแพร่หลายของปาเอยานั้นมาจากการที่สามารถดัดแปลงใช้วัตถุดิบที่หาได้ตามแต่ละท้องถิ่นสร้างปาเอยาที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละแคว้นขึ้นมาได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น  แคว้นกาลิเซีย ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ติดกับทะเล สามารถใช้อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปลา หรือปลาหมึก เป็นส่วนประกอบหลักทำปาเอยาทะเล ในขณะที่บางแคว้นที่อยู่ตอนในของประเทศ เช่น  แคว้นคาสตีลและเลออน  สามารถใช้เนื้อหมูหรือเนื้อไก่ซึ่งสามารถหาได้ง่ายกว่ามาใช้เป็นส่วนประกอบหลัก
รูปภาพ
   ตีรามีซู  ( อิตาลี :  tiramisù , แปลตามตัวอักษรว่า "ดึงฉันขึ้นไปซิ" หรือ "พาฉันขึ้นไปซิ" โดยปริยายหมายถึง "ทำให้ฉันมีแรง (กายหรือใจ) ซิ" หรือ "ทำให้ฉันตื่นตัวซิ") [1]  เป็นขนมหวานรส กาแฟ ชนิดหนึ่งจาก ประเทศอิตาลี  ทำจากแท่ง ขนมปังกรอบซาวอย ( biscotto savoiardo ) จุ่มน้ำกาแฟ เอสเปรสโซ เพียงชั่วครู่ แล้วนำไปเรียงเป็นชั้นสลับกับส่วนผสมที่ประกอบด้วย ไข่ ,  น้ำตาล , และเนย มัสคาร์โปเน ตีเข้าด้วยกัน แต่งกลิ่นรสด้วย ผงโกโก้ แหล่งกำเนิดของตีรามีซูยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่าง แคว้นเวเนโต ,  ฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย ,  พีดมอนต์  และแคว้นอื่น ๆ ในอิตาลี อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลส่วนมากมักระบุว่ามีการทำตีรามีซูเป็นครั้งแรกในอิตาลีราว คริสต์ทศวรรษ 1960  ส่วนผสมพื้นฐานได้แก่ ขนมปังกรอบซาวอย,  ไข่แดง , น้ำตาล, เนยมัสคาร์โปเน, กาแฟ และผงโกโก้ (ตามสูตรดั้งเดิมนั้นไม่มีส่วนผสมของเหล้าหรือไข่ขาว) ถึงแม้รูปร่างของขนมปังกรอบจะเอื้อต่อการทำขนมรูปร่างสี่เหลี่ยมมากกว่า แต่ตัวขนมตามสูตรดั้งเดิมก็มีรูปร่างกลม โดยมักจะถูกเรียงประกอบในภาชนะแก้วเพื่อเผยให้เห็นชั้นต่าง